วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทเรียนที่6
ตัวแปร
ตัวแปรและการตั้งชื่อตัวแปรในภาษา C#
Variable (ตัวแปร)ก่อนที่จะนิยามตัวแปรต้องขออธิบายซักนิดครับ ถ้าพูดถึงวิชาคณิตศาสตร์ ตัวแปรนั้นจะหมายถึงสิ่งที่เราไม่ทราบค่าและต้องการหาค่าเหล่านั้น แต่ในทางโปรแกรมมิ่ง ตัวแปรคือ สิ่งที่ใช้เก็บค่าของข้อมูลนั้นๆ ในเงื่อนไขหนึ่งๆตัวแปร คือ การเก็บค่าของข้อมูลโดยมีสิ่งที่อ้างอิงได้จากการตั้งชื่อให้กับหน่วยความจำเพื่อใช้ในการเก็บค่าต่างๆ ตัวแปรแต่ละตัวจะสามารถเก็บค่าได้เพียง 1 ค่าเท่านั้นในการเขียนโปรแกรมจะมีการจองพื้นที่หน่วยความจำ เพื่อใช้เก็บข้อมูล และต้องกำหนดชื่อเรียกเพื่อนอ้างอิงพื้นที่หน่วยความจำที่จอง ข้อมูลในตัวแปรสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลากฏการตั้งชื่อตัวแปร
ห้ามนำคำสงวน (reserved word) มาตั้งเป็นชื่อตัวแปร
ชื่อตัวแปรจะต้องขึ้นต้นด้วย ตัวอักษรภาษาอังกฤษ อักขระพิเศษ @และ _ (underscore) เท่านั้น
ตัวแปรจะต้องไม่ขึ้นต้นด้วยตัวเลข เช่น 9number, 105Ages ถือว่าผิด
ชื่อตัวแปรจะต้องไม่ประกอบไปด้วยอักษรพิเศษทุกชนิด(เครื่องหมาย /, +, -, *, %, !)
ตัวอักษรใหญ่และเล็กจะถือว่าไม่เหมือนกัน เช่น mVar, MVAR จะถือว่าเป็นคนละตัวแปร
ไม่ควรใช้ชื่อยาวเกินไป และควรตั้งให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ เช่น ตัวแปรเก็บอายุก็ควรตั้งว่า Age เป็นต้นตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปรที่ถูก- _Number (ถูกต้องเพราะขึ้นต้นด้วย _ และประกอบไปด้วยตัวอักษร)- @humor123- InputNumber (ถูกต้องเพราะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร)ตัวอย่างการตั้งชื่อตัวแปรที่ผิด- 12Vat (ผิดเพราะ ขึ้นต้นด้วยตัวเลข)- inter-net (ผิดเพราะมีอักขระพิเศษ - )- case (ผิดเพราะ case เป็นคำสงวน)การตั้งชื่อตัวแปรในช่วงแรกๆนั้นจะนิยมตั้ง นำหน้าด้วยตัวอักษรที่สื่อถึงชนิดของข้อมูล เช่นInCost (ตัวแปรเก็บค่าราคา ชนิด integer)Dpi (ตัวแปรเก็บค่าพาย ชนิด Double)bChecker (ตัวแปรเก็บค่าความจริงชนิด Boolean)เรียกการตั้งชื่อตัวแปรรูปแบบนี้ว่า "ฮันกาเรียน โนเตชั่น"การตั้งชื่อตัวแปรในรูปแบบนี้ ได้รับความนิยมมากเนื่องจาก ป้องกันการลืมชนิดข้อมูลของตัวแปรเมื่อเราเขียนโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ แต่ปัจจุบันนั้น Compiler Visual Studio สามารถบอกชนิดของข้อมูลของตัวแปรได้เพียงแค่นำเมาส์ไปชี้ที่ชื่อตัวแปร การตั้งชื่อรูปแบบนี้จึงไม่นิยมอีกต่อไป
การประกาศตัวแปรก่อนที่เราจะได้ใช้งานตัวแปร เราจะต้องทำการประกาศตัวแปรเสียก่อน เพื่อที่จะให้โปรแกรมได้จองพื้นที่หน่วยความจำ ไว้สำหรับรองรับค่าที่จะรับเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปรต่อไป ขนาดของหน่วยความจำที่ใช้จะขึ้นอยู่กับชนิดของตัวแปร(ชนิดของตัวแปร) (ชื่อของตัวแปร) ; // เป็นการประกาศค่าตัวแปรโดยที่ตัวแปรจะไม่มีค่าใดๆในหน่วยความจำเช่น int number ; // เป็นการประกาศตัวแปร number ชนิด int (จำนวนเต็ม)เราสามารถประกาศตัวแปรได้หลายตัวพร้อมกัน(ชนิดของตัวแปร) (ชื่อของตัวแปร 1), (ชื่อของตัวแปร 2), (ชื่อของตัวแปร 3), ...., (ชื่อของตัวแปร n) ;เช่น int a,b,c,d,e ;ตัวแปรที่ได้จะเป็นชนิด int (จำนวนเต็ม) ทั้งหมดเราสามารถประกาศตัวแปรพร้อมกับใส่ค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรได้(ชนิดของตัวแปร) (ชื่อของตัวแปร) = ค่าที่ของตัวแปร ;เช่น double pi = 3.14 ; // เป็นการประกาศค่าตัวแปร pi ชนิด double (จำนวนจริง) พร้อมกับใส่ค่าให้กับตัวแปร pi
สำหรับการประกาศค่าของ string และ char จะมีการกำหนดค่าเริ่มต้นที่ต่างจากตัวเลขดังนี้string text = "Oak"; // จะมีเครื่องหมาย "....." มาครอบข้อความเอาไว้
char word = 'O'; // จะมีเครื่องหมาย '...' มาครอบข้อความเอาไว้
การประกาศตัวแปรค่าคงที่ ( Constant )ค่าคงที่ในโค้ดโปรแกรมมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละค่า เช่น ค่า พาย ค่า e หรือค่าอะไรก็แล้วแต่ ซึ่งเมื่อเราประกาศตัวแปรค่าคงที่มาแล้วนั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้อีก ไม่ว่าในส่วนของโปรแกรมใดๆ
รูปแบบการประกาศตัวแปรค่าคงที่const (ชนิดของตัวแปรค่าคงที่) = (ค่าที่ต้องการ) ;*** การประกาศตัวแปร const จะต้องประกาศพร้อมกับใส่ค่าให้กับตัวแปร จะประกาศเพียงชื่อไม่ได้*** const int oak ; (ถือว่าผิด จะไม่สามารถรันโปรแกรมได้) x x x x x x

ตัวแปร หมายถึง คุณลักษณะ คุณสมบัติที่แตกต่างกันไปของปรากฏการณ์ ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งของ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต หรือเหตุการณ์ แสดงให้เห็นความแตกต่าง หรือผลการะทบต่อกันได้ชัดเจน เมื่อทำการศึกษาวิจัย ชนิดของตัวแปร จะแบ่งย่อยเป็น ตัวแปรต้นที่เป็นสาเหตุ ตัวแปรตามที่เป็นผล และตัวแปรแทรกที่วัดค่าโดยตรงไม่ได้ พอสรุปได้ว่าตัวแปร คือ ค่าที่มีการเปลี่ยนแปลง และตัวอย่างตัวแปรที่เกี่ยวกับคนได้แก่ อายุ เพศ การศึกษา รายได้ อาชีพ ฯลฯ
ตัวแปร คือ คุณลักษณะ หรือ สภาวการณ์ต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นพวกหรือเป็นระดับ มีค่าได้หลายค่า
ประเภทของตัวแปร ได้แก่
ตัวแปรอิสระ เป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับตัวแปรตาม และเป็นสาเหตุ มีอิทธิผลต่อตัวแปรตาม ตัวแปรอิสระยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นเช่น ตัวแปรต้น ตัวแปรจัดการกระทำ ตัวแปรเร้า ตัวแปรป้อน เป็นต้น
ตัวแปรตาม หรือตัวแปรผล หมายถึง ขึ้นอยู่และแปรผันไปตามตัวแปรอิสระ ค่าของตัวแปรจะแตกต่างกันไปตามประเภท ระดับ หรือความเข้มข้นของตัวแปรอิสระ เชื่อว่าเป็นตัวแปรที่ได้รับผลจากอิทธิพลของตัวแปรอิสระ
ตัวแปร หมายถึง คุณลักษณะหรือปริมาณ ที่สามารถวัดได้ จากประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งมีค่าได้ต่างๆกัน เช่น เพศ สถานภาพสมรส รูปแบบวิธีสอน บุคลิกภาพ สติปัญญา เป็นต้น
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จำแนกได้เป็นชนิดต่างๆดังนี้ ตัวแปรทวิวิภาค ตัวแปรพหุ ตัวแปรที่มีความหมายชัดเจน ตัวแปรเชิงโครงสร้าง ตัวแปรเชิงคุณภาพ ตัวแปรเชิงปริมาณ ตัวแปรแบบต่อเนื่อง ตัวแปรแบบไม่ต่อเนื่อง ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรย่อย ตัวแปรแทรกซ้อน ตัวแปรสอดแทรก ตัวแปรควบคุม เป็นต้น
ประเภทของตัวแปร แบ่งตามบทบาทหน้าที่
- ตัวแปรอิสระ หมายถึง ตัวแปรที่มีคุณสมบัติทำหน้าที่เป็นเหตุ ซึ่งให้เกิดผลอย่างใด อย่างหนึ่งตามมา
- ตัวแปรตาม หมายถึง ตัวแปรที่มีคุณสมบัติทำหน้าที่เป็นผล
- ตัวแปรแทรก คุณสมบัติ สิ่งต่างๆที่ผู้วิจัยไม่ต้องการจะศึกษา แต่มีผลกระทบต่อตัวแปรที่ผู้วิจัยศึกษา
- ตัวแปรควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมความผันแปร มีประโยชน์ในการลดความคาดเคลื่อนของงานวิจัย
ตัวแปร (Variables)
ตัวแปร หมายถึง ชื่อที่ผู้เขียนโปรแกรมกำหนดขึ้นเพื่อใช้เก็บหรือแทนข้อมูล ตัวแปรจึงเป็นเสมือนชื่อกล่องที่เก็บข้อมูล การตั้งชื่อตัวแปรจะเป็นตัวอักษรทั้งหมดหรือมีตัวเลขปนก็ได้ แต่ละตัวแปรจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรเสมอ เช่น NAME SCORE X3
การตั้งชื่อตัวแปรควรตั้งชื่อให้สื่อความหมายเพื่อผู้ใช้จะได้เข้าใจง่าย ตัวแปรแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. ตัวแปรจำนวน (Numeric Variables) คือบอกให้รู้ว่าข้อมูลที่เก็บอยู่เป็นจำนวน
2. ตัวแปรอักขระ (String Variables) คือ ตัวแปรที่จะบอกให้รู้ว่าเก็บข้อมูลอยู่ในรูปตัวอักษรหรือข้อความต่าง ๆ เช่น ชื่อบ้านเลขที่ จะต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมาย $ เช่น NAME$ ADDRESS$
ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่แตกต่าง หรือ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์มีอยู่ ๓ ประเภท ได้แก่
ตัวแปรต้น (ตัวแปรอิสระ , ตัวแปรเหตุ) เป็นตัวแปรเหตุที่ทำให้เกิดผลต่างๆ หรือ ตัวแปรที่เราต้องการศึกษา หรือ ทดลองดูว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลตามที่เราสังเกตใช่หรือไม่
ตัวแปรตาม (ตัวแปรไม่อิสระ , ตัวแปรผล) เป็นตัวแปรที่เกิดมาจากตัวแปรเหตุ เมื่อตัวแปรเหตุเปลี่ยนแปลง ตัวแปรตามก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
ตัวแปรควบคุม เป็นตัวแปรอื่นๆมากมาย (นอกจากตัวแปรเหตุ) ที่อาจส่งผลต่อการทดลอง ทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนไป เราจึงจำเป็นต้องทำการควบคุมให้เหมือนๆ กันเสียก่อน
ตัวแปร หมายถึง คุณลักษณะที่แปรเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการวัด ถ้าเป็นบุคคล ตัวแปรก็คือคุณลักษณะที่แปรเปลี่ยนไปในแต่ละบุคคล เช่น ความสูง, รายได้, การนับถือศาสนา, อายุ เป็นต้น

ตัวแปรมีหลายประเภทดังนี้
ก. ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น ตัวแปรต้น ตัวแปรจัดกระทำ ตัวแปรเร้า เป็นต้น
การที่ใช้ชื่อว่าตัวแปรจัดกระทำ (Manipulated or Treatment Variable) เป็นการเรียกในกรณีวิจัยการทดลองทั้งนี้เนื่องจากการวิจัยทดลองเป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยจัดสภาพให้เกิดระดับหรือความเข้มข้น หรือประเภทแตกต่างกัน เช่น ถ้าตัวแปรอิสระเป็นอุณหภูมิ ผู้วิจัยจะจัดให้มีอุณหภูมิในการทดลองแตกต่างกัน เช่น ให้กลุ่มหนึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิ 20oC อีกกลุ่มอยู่ ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิ 30oC เป็นต้น ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเรียกว่าเป็นตัวแปรจัดกระทำ
ที่เรียกว่าตัวแปรป้อน (Input Variable) เป็นการเรียกในการวิจัยเชิงทดลอง ทั้งนี้เนื่องจากเป็นตัวแปรที่ใส่ในการทดลอง
ข. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) มีชื่อเรียกอีกย่างว่าตัวแปรผล คำว่า ตาม (Dependent) หมายถึง ขึ้นอยู่กับ หรือแปรผันไปตาม ตัวแปรอิสระ กล่าวคือค่าของตัวแปรนี้จะแตกต่างกันไปตามประเภท ระดับ หรือความเข้มของตัวแปรอิสระ
ที่เรียกว่าตัวแปรผล (Output Variable) เนื่องจากเชื่อว่าเป็นตัวแปรที่ได้รับผล หรือเป็นผลจากอิทธิพล ของตัวแปรอิสระ เช่น การสอน (ตัวแปรอิสระ) เป็นสาเหตุหรือมีอิทธิพลทำให้เกิดการเรียนรู้ (ตัวแปรผล) เป็นต้น
ตัวแปรอิสระ คือวิธีสอน ซึ่งมี 2 วิธี คือ
1.วิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
2.วิธีสอนแบบบรรยาย
ตัวแปรตาม มี 2 ตัว คือ
1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา
2.ความมีวินัยแห่งตน
ค. ตัวแปรสอดแทรกหรือตัวแปรแทรกซ้อน (Intervening Variable) เป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลอง เช่น ขณะที่การทดลองกลุ่มตัวอย่างเกิดความเหนื่อยล้าหรือเกิดความวิตกกังวล มีแรงจูงใจสูงหรือต่ำเป็นต้น นอกจากความเหนื่อยล้า ความวิตกกังวล แรงจูงใจ และยังมีตัวแปรชนิดนี้อีกหลายตัว เช่น ความรับรู้ ความต้องการ ความรู้สึก เป็นต้น
ง. ตัวแปรเกินหรือตัวแปรภายนอก (Extraneous Variable) คือตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่ได้มุ่งศึกษาผลของตัวแปรนั้นและได้ควบคุม แต่อาจมีอิทธิพลต่อตัวแปรตามทำให้ข้อสรุปขาดความเที่ยงตรง ตัวอย่าง การทดลอง เพื่อเปรียบเทียบวิธีการสอน 2 วิธี ว่าใดจะช่วยให้ผู้เรียนมีสัมฤทธิ์ทางเรียนของผู้เรียน ได้แก่ ระดับสติปัญญาของผู้เรียน ฯลฯ ดังนั้นทางเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยเลือกเอาห้องเรียนที่โรงเรียนจัดไว้ โดยไม่ได้ใช้วิธีจัดแบบสุ่ม ห้องเรียนแต่ละห้องมักมีนักเรียนที่มีระดับสติปัญญาแตกต่างกัน อนึ่งยังมีตัวแปรอื่น ๆ อีก เช่น สถานะภาพทางเศรษฐกิจและทางสังคม ความสามารถทางการเรียนของผู้เรียน เป็นต้น
จ. ตัวแปร Organismic หรือ Attribute Variable คือ ตัวแปรที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น